สภาพทั่วไป อบต.หนองพันจันทร์

ประวัติความเป็นมา
      ตำบลหนองพันจันทร์ เดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลบ้านคา ซึ่งมีพรานล่าสัตว์คนหนึ่ง ชื่อ นายจันทร์ ซึ่งชอบล่าสัตว์ที่หนองน้ำ ในหมู่บ้านแห่งนี้เป็นประจำ ชาวบ้าน จึงตั้งชื่อ ชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านหนองพรานจันทร์" และได้เรียกกันเพี้ยนจนถึงปัจจุบันนี้ว่า "บ้านหนองพันจันทร์" ต่อมาได้แยกตำบล ตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่น เป็น ตำบลหนองพันจันทร์ และปัจจุบันได้ยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันจันทร์ เป็นหน่วยการบริหารราชการซึ่งจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศ ลงวันที่ 30 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2539 พื้นที่อาณาเขตและความรับผิดชอบในเขตพื้นที่ตำบลหนองพันจันทร์ เดิมมีจำนวน 9 หมู่บ้าน และปัจจุบันได้แยกหมู่บ้าน เป็น 11 หมู่บ้าน

ที่ตั้ง
      ตำบลหนองพันจันทร์ เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 3 ตำบล ของอำเภอบ้านคา จังหวัด ราชบุรี ที่ตั้งของตำบลอยู่ทางทิศเหนือ ของอำเภอบ้านคาและทางทิศตะวันตกของจังหวัดราชบุรี โดยอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 99 องศา 26 ลิปดาตะวันออก 11.4 ฟิลิปดาตะวันออก และระหว่างเส้นแวงที่ 13 องศา 28 ลิปดาเหนือ 24.1 ฟิลิปดาเหนือ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 212.00 เมตร


เนื้อที่
     มีเนื้อที่ทั้งหมด 143 ตารางกิโลเมตร การเดินทางห่างจากที่ทำการอำเภอบ้านคา โดยทางรถยนต์ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดราชบุรีโดยทางรถยนต์ประมาณ 60 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ปกครองใกล้เคียง ดังนี้
     ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลท่าเคย  อำเภอสวนผึ้ง
     ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลบ้านบึง  อำเภอบ้านคา
     ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลรางบัว  อำเภอจอมบึง
     ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลบ้านคา  อำเภอบ้านคา

ภูมิประเทศ
     ลักษณะภูมิประเทศของตำบลหนองพันจันทร์ มีพื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบบางส่วนเหมะแก่ การทำพืชไร่ ไม้ผลและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะ การปลูกสับปะรด , การปลูกต้นยางพาลา , การปลูกอ้อย

จำนวนหมู่บ้าน
     ตำบลหนองพันจันทร์ มีจำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็ม 11 หมู่บ้าน ดังนี้
ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม
       บ้านทุ่งมะลิคร้อ 161 263 282 545
       บ้านหนองโก 200 297 260  557
       บ้านช่องลาภ 211 371 359 730
       บ้านหนองจอกบน 273 435 428 863
       บ้านหนองจอก 211 393 383 776
       บ้านหนองพันจันทร์ 215 292 292 584
       บ้านหนองธง 253 356 374 730
       บ้านหนองตาเล็ก 75 102 108 228
       บ้านทุ่งหมูปล่อย 100 178 190 368
       บ้านทุ่งตาลับ 93  173 157 330
       บ้านทุ่งมะลิคร้อเหนือ 205 351 358 709

ตำบลหนองพันจันทร์มีคนไทยอาศัย 4 ชาติพันธุ์ ดังนี้
      ชาวไทยจีน
     ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจต่อเมืองราชบุรีอย่างมาก G. William Skinner ผู้ศึกษาเรื่องราวของชาวจีนในประเทศไทยระบุว่า ใน พ.ศ. 2450 ตรงกับ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่ชาวจีนอพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยมากที่สุด ชาวจีนที่อพยพเข้ามาสามารถแยกออกเป็น 5 กลุ่ม ตามสำเนียงการพูด ได้แก่ ชาวจีนกลุ่มแต้จิ๋ว จีนแคะ ไหหลำ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน ชาวจีนเหล่านี้กระจัดกระจายกันอยู่ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง และบ้านหนองพันจันทร์ หมู่ที่ 6 , บ้านหนองตาเล็ก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา
      ชาวไท – ยวน
      ชาวยวนมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางแถบอาณาจักรล้านนา ดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้มีพระราชบัญชา ให้กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ กองทัพเมืองเวียงจันทร์พร้อมด้วยกองทัพเมืองล้านนา ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนใน พ.ศ. 2347 ขณะนั้นเมืองเชียงแสนถูกพม่ายึดไว้ เมื่อยึดเมืองเชียงแสนได้และไล่ตีทัพพม่าแตกไปแล้วกองทัพจากกรุงเทพฯ ก็ได้รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองแล้วกวาดครัวชาวเมืองราว 23,000 คนเศษ อพยพลงมาทางใต้ แบ่งครัวออกเป็น 5 ส่วน ส่วนหนึ่งให้อยู่ที่เชียงใหม่ ส่วนที่สองอยู่ที่เมืองนครลำปาง ส่วนที่สามอยู่ที่เมืองน่าน ส่วนที่สี่อยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ส่วนสุดท้ายพาลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้ ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สระบุรีบ้าง ราชบุรีบ้าง ชาวยวนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองราชบุรีนั้น พากันตั้งบ้านเรือนบริเวณริมฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ห่างจากเมืองราชบุรีปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร เรียกว่าบ้านไร่นที ต่อมา มีการขยายครัวเรือนออกไปจากที่เดิมอีกหลายพื้นที่ อาทิ ตำบลคูบัว ตำบลดอนตะโก ตำบลอ่างทอง ตำบลเจดีย์หัก , บ้านทุ่งตาลับ หมู่ที่ 10 , บ้านหนองโก หมู่ที่ 2 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา
     ชาวไทยลาวครั่ง
     ชาวลาวครั่งอพยพเข้าสู่ประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏครั้งแรกเมื่อ โดยประมาณพ.ศ. 2127 หลังจากสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ครั้งนั้นกลุ่มลาวครั่งที่ผลัดถิ่นเข้ามาประเทศสยามด้วยที่ว่าการอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อาหารการกินต่างๆ ที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้จึงมีกลุ่มลาวครั่งเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมากและได้แตกแยกย้ายออกกันไปทั่วๆทุกภูมิภาคของประเทศไทย หลังจากนั้นก็มีการอพยพต่อมาอีกหลายครั้งทั้งในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวลาวครั่งในจังหวัดราชบุรีส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองในเขตอำเภอโพธารามและ บ้านช่องลาภ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา
      ชาวไทยทรงดำ (ลาวโซ่ง)
      ชาวลาวโซ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างญวนกับอาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งทำสงครามรุกรานกันอยู่เป็นประจำ ชาวลาวโซ่งจึงต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีภัยสงคราม บางกลุ่มโยกย้ายเข้าไปอยู่ในอาณาจักรหลวงพระบาง ทั้งไปเองโดยสมัครใจและถูกกวาดต้อนไป รวมทั้งการอพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยด้วย ลาวโซ่งที่เข้ามายังประเทศไทยในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ชาวลาวโซ่งที่อพยพเข้ามาใหม่ ตั้งหลักแหล่งที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ภายหลังเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ชาวลาวโซ่งจึงพากันอพยพโยกย้ายไปตั้งหลักแหล่งในพื้นที่ใกล้เคียงและขยายออกไปส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งในจังหวัดราชบุรีที่บ้านตลาดควาย อำเภอจอมบึง , บ้านทุ่งมะลิคร้อเหนือ หมู่ที่ 11 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา





Thai Arabic Chinese (Traditional) English Filipino French Indonesian Japanese Korean Vietnamese






























mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้613
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้345
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2663
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว1108
mod_vvisit_counterเดือนนี้5556
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว6629
mod_vvisit_counterทั้งหมด146096

We have: 3 guests online
IP: 18.218.172.249
วันนี้: เม.ย. 27, 2024























QR Code
อบต.หนองพันจันทร์



 

ลิขสิทธิ์ © 2557-2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันจันทร์ จังหวัดราชบุรี. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โทร 032-731-635